วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
1) การวิเคราะห์หลักสูตร คือ การสำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม และผู้เรียน  มีการกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ชัดเจนในการเลือกเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย วัย ความสามารถของผู้เรียน โดยเนื้อหาต้องมีความเชื่อถือได้ และสำคัญต่อการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง และความยากง่ายของเนื้อหา วุฒิภาวะ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน
2) การวิเคราะห์ผู้เรียน คือ  เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่า
ผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไป
และลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น
 การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่  อายุ  ระดับความรู้  สังคม  เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของบทเรียนและเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้  ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอน
และวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน

3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ ทักษะและ
เจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้าน
IQ (Intelligence Quotient) และด้าน EQ (Emotional Quotient) ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข เป็นผู้กระตุ้น ส่งเสริมสนับสนุนจัดสิ่งเร้าและจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล การจัดกิจกรรมจึงต้องเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ สร้างสรรค์ ศึกษาและค้นคว้า ได้ลงมือปฏิบัติจริง จนเกิดการเรียนรู้และค้นพบความรู้ด้วยตนเองเป็นสาระความรู้ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยสนใจใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง รักการอ่าน รักการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long-life Education) และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
 
4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน คือ  เป็นการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผล การใช้ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ในการสร้างบทเรียน การใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อการค้นคว้า หรือสื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet   ทั้งทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ มาประยุกต์ใช้ ในการเรียนการสอน ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ คือ  
                   1.  ศึกษาวัตถุประสงค์ของการประเมิน เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนรอบด้าน ดังนั้น จึงใช้วิธีการที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เช่น การสังเกต สัมภาษณ์ การตรวจผลงาน การทดสอบ บันทึกจากผู้เกี่ยวข้อง การรายงานตนเองของผู้เรียน แฟ้มสะสมงาน เป็นต้น

                   2.  กำหนดเครื่องมือในการประเมิน เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน ให้เป็นการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงแล้ว ในการกำหนดเครื่องมือจึงเป็นเครื่องมือที่หลากหลาย เป็นต้นว่า

                             - การบันทึกข้อมูล จากการศึกษา ผลงาน โครงงาน หนังสือที่ผู้เรียนผลิต แบบบันทึกต่างๆ ได้แก่ แบบบันทึกความรู้สึก บันทึกความคิด บันทึกของผู้เกี่ยวข้อง (นักเรียน เพื่อน ครู ผู้ปกครอง) หลักฐานร่องรอยหรือผลงานจากการร่วมกิจกรรม เป็นต้น

                             - แบบสังเกต เป็นการสังเกตพฤติกรรม การร่วมกิจกรรมในสถานการณ์ต่าง ๆ

                             - แบบสัมภาษณ์ เป็นการสัมภาษณ์ความรู้สึก ความคิดเห็น ทั้งตัวผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง

                             - แฟ้มสะสมงาน เป็นสื่อที่รวบรวมผลงานหรือตัวอย่างหรือหลักฐานที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ ความสามารถ ความพยายาม หรือความถนัดของบุคคลหรือประเด็นสำคัญที่ต้องเก็บไว้อย่างเป็นระบบ

                             - แบบทดสอบ เป็นเครื่องมือวัดความรู้ ความเข้าใจที่ยังคงมีความสำคัญต่อการประเมินสำหรับผู้ประเมิน ประกอบด้วย ผู้เรียนประเมินตนเอง ครู เพื่อน/กลุ่มเพื่อน ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องกับนักเรียน

6 ) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ คือ กระบวนการเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มุ่งพัฒนาหรือแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดในชั้นเรียนและขณะที่สอน นำผลที่ค้นพบมาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และพัฒนาสถานศึกษาไปสู่คุณภาพการศึกษาที่แท้จริงและยั่งยืน        
 7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน คือ  กล่าวโดยสรุปได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน โดยครูผู้สอนในชั้นเรียนนั้นๆ เป็นการดำเนินการที่มีการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตผล และการสะท้อนกลับ ซึ่งเป็นการวิจัยที่ทำเร็ว นำผลไปใช้ได้ทันที นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนอย่างแท้จริง
  นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ ให้ผู้เรียนอธิบาย ด้วยหลักการที่เป็นเหตุและผล อย่างเป็นระบบโดยใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน  การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ  การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น  การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้   และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถามเพื่อให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์ และเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อโดยใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่างผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
    ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์  ดังนั้นผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม  เลือกใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน  และใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย  ทั้งนี้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน  และสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้
กระบวนการจัดการเรียนรู้
            1.  กำหนดจุดประสงค์และสาระสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
            2.  วิเคราะห์จุดประสงค์ สื่อและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศักยภาพของผู้เรียนและผู้สอน
            3.  ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์
            4.  ออกแบบปฏิสัมพันธ์ในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้  โดยเลือกใช้กระบวนการกลุ่มที่เหมาะสมกับกิจกรรมนั้น ๆ
            5.  เตรียมใบช่วยสอน สื่อ/อุปกรณ์  และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ
            6.  ออกแบบการประเมินผลและเครื่องมือ
            7.  จัดการเรียนรู้และบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
            8.  ปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
องค์ประกอบการเรียนรู้
เป็นโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้  ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตามศักยภาพ  ซึ่งจากการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบต่าง ๆ พบว่ามีโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน 4 องค์ประกอบ คือ
            1.  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ คือ เป็นองค์ประกอบที่ผู้สอนพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนดึงประสบการณ์เดิมของตนมาเชื่อมโยง หรืออธิบายประสบการณ์หรือเหตุการณ์ใหม่  แล้วนำไปสู่การขบคิดเพื่อเกิดข้อสรุปหรือความรู้ใหม่  และแบ่งเป็นประสบการณ์ของตนเองกับผู้อื่นที่อาจมีประสบการณ์เหมือนหรือต่างจากตนเอง  เป็นการรวบรวมมวลประสบการณ์ที่หลากหลายจากแต่ละคนเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ร่วมกัน
            2.  การสร้างความรู้ร่วมกัน คือ เป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้คิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  สร้างสรรค์มวลประสบการณ์ข้อมูล  ความคิดเห็น  ฯลฯ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ชัดเจน  หรือเกิดข้อสรุป/ความรู้ใหม่หรือตรวจสอบ/ปรับ/เปลี่ยนความคิดความเชื่อของตนเอง
        3.  การนำเสนอความรู้ คือ เป็นองค์ประกอบที่เน้นให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลความรู้  แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ขั้นตอน  หรือข้อสรุปต่าง ๆ โดยครูเป็นผู้จัดให้เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการสร้างความรู้ใหม่หรือช่วยให้การเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์
       4.  การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ คือ เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้นำความคิดรวบรวมหรือข้อสรุป  หรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์หรือทดลองใช้  หรือเป็นการแสดงผลสำเร็จของการเรียนรู้ในองค์ประกอบนั้น ๆ ซึ่งผู้สอนสามารถใช้กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ในการประเมินผลการเรียนรู้  เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รู้จักการนำไปใช้ในชีวิตจริง
การออกแบบกิจกรรม  มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนทำกิจกรรมได้ตรงตามความต้องการของผู้สอน  และเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
การออกแบบปฏิสัมพันธ์  กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  จึงเป็นการจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากกลุ่มให้มากที่สุด  แทนการฟังบรรยายอย่างเดียว
กิจกรรมเสนอแนะ  เป็นกิจกรรมที่เสนอแนะไว้เป็นทางเลือก  เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเรียนที่แตกต่างกัน  และยังเป็นกิจกรรมที่เสนอไว้สำหรับทำต่อเนื่อง  นอกเหนือไปจากชั่งโมงการเรียนรู้ เช่น อาจแจกงานให้นักเรียนทำนอกเวลาเรียนแล้วส่งเป็นผลงาน  ใช้จัดทำเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร  เป็นต้น  นอกจากนี้อาจเป็นกิจกรรมที่เสนอแนะเปิดกว้างให้ผู้เรียนเลือกทำตามความสนใจและความถนัดได้ด้วย
                ตัวอย่างกิจกรรมเสนอแนะ
                -  การสรุปผลงานที่เกิดในชั่วโมงการเรียนรู้นำมาติดบอร์ด
          -  หนังสืออ่านเพิ่มเติมนอกเวลา
          -  ทัศนศึกษาสถานที่ในประวัติศาสตร์
          -  ตัดข่าวที่น่าสนใจนำมาสรุปให้เพื่อนฟังในชั่วโมงโฮมรูม ฯลฯ










 
 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น