วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?
ส่วนบนของฟอร์ม

หมวกแห่งความคิด 6 ใบ หรือการคิด 6 ด้าน ประกอบด้วย
หมวกสีขาว หมายถึงข้อมูลข่าวสาร
หมวกสีแดง หมายถึงอารมณ์ความรู้สึก
หมวกสีดำ หมายถึงการตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัย
หมวกสีเหลือง หมายถึงการมองในแง่ดีเต็มไปด้วยความหวัง
หมวกสีเขียว หมายถึงการ คิดอย่างสร้างสรรค์
หมวกสีฟ้า หมายถึงการสามารถควบคุมความคิดทั้งหมดให้มองเห็นภาพรวมของการคิด
หมวกสีขาว
คือ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
หมวกสีขาวคิด ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของแต่ละคนออกมา ไม่ต้องวิเคราะห์หรือ ถกเถียงกันว่าข้อมูลของใครดีกว่ากัน ต่อมาถึงขั้นตอนการคิดแบบ
หมวกสีแดง  
คือ ไม่สนใจ ข้อมูล แต่จะเน้นด้านอารมณ์และความรู้สึกเท่านั้น
หมวกสีแดงทุกคนสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกในเรื่องนั้นได้อย่าง เต็มที่ จากนั้นเป็น

หมวกสีดำ
คือ หมวกดำจะเน้น คิดโดยโจมตีจุดอ่อน หรือข้อเสีย ในเรื่องนั้น เพื่อมองเห็นปัญหาได้
หมวกสีดำขั้นตอนของการใช้เหตุผลวิพากษ์ วิเคราะห์ ตั้งข้อสงสัย ข้อควรระวัง ตามด้วย
หมวกสีเหลือง
คือ จะมองไปในด้านดีของสิ่งที่เราจะคิด พยายามหาสิ่งดีๆในสิ่งที่เกิดขึ้น
หมวกสีเหลืองซึ่งเป็นสีของความหวัง ที่ทุกคนจะหาแง่มุมด้านบวกของประเด็นนี้ (แม้คนไม่เห็นด้วยก็ต้องพยายามหาข้อดีของประเด็นนั้น) เมื่อถึงช่วง ของ
หมวกสีเขียว 
คือ ความคิดที่สร้างสรรค์ นำมาซึ่งทางเลือกใหม่และวิธีแก้ปัญหาใหม่ เราต้องไม่ตัดสิน แต่ต้องตั้งข้อเสนอแนะความคิด ไอเดีย หรือมุมมองใหม่ๆขึ้นมา
หมวกสีเขียวจะเป็นโอกาสที่ทุกคนต้องแสดงความคิดสร้างสรรค์ กล่าวคือหาทางออก หรือแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ลำดับสุดท้ายเมื่อทุกคนสวม
หมวกสีฟ้า
คือ เป็นหมวกคิดของการวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน
หมวกสีฟ้าจะเป็นการมองภาพรวมหาบทสรุป และสำรวจความคืบหน้าของการคิดหรือการอภิปราย ที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ต้น







กิจกรรมที่ 12


ระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม 2554 หลักสูตรสังคมศึกษาได้จัดทัศนศึกษาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ซึ่งกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการบูรณาการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กิจกรรมทัศนศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้  ให้นักศึกษาเล่าบรรยากาศ การเดินทาง สิ่งที่พบและเกิดองค์ความรู้ใหม่ ลงในบล็อกของนักศึกษาและนำเสนอ    ผลงานของนักศึกษาเป็นรายบุคคล เป็นโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ให้นำมาใส่ลงบล็อกของนักศึกษา  และสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้ไปทัศนศึกษาให้นำเสนอว่าในช่วงเวลาดังกล่าว นักศึกษาทำกิจกรรมอะไร ได้องค์ความรู้อะไร สรุปเขียนลงในบล็อก และนำเสนอผลงานที่นักศึกษาได้ทำ ทำเป็น Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ลงในบล็อกของนักศึกษาเช่นกัน      สรุปงานนักศึกษาจะมี 2 ชิ้น คือ
      1) สรุปเล่าเหตุการณ์การเดินทางและองค์ความรู้ที่พบลงนบล็อกของนักศึกษา 
     
ความประทับใจในการไป ณ  ภาคสนามภาคกลางและภาคเหนือ
       ก่อนออกเดินทางมีความตื่นเต้นมากขนาดเดินทางไปขึ้นรถบัสมีสายฝนตกมาโปรยปราย  ทำให้รู้สึกสดใส เวลาขณะนั้นเป็นเวลา  3.30 . มีเพื่อนๆน้องๆทั้งปี1และปี2 รวมทั้งคุณครูอาจารย์ที่มารอขึ้นรถบัสเวลา 4.00 . ที่อาคาร 27  เพื่อออกเดินทางไปทัศนะศึกษาภาคสนามภาคกลางและภาคเหนืออย่างมีความสุข ขณะออกเดินทางทุกคนจะรู้สึกราบเริง แจ่มใสและเบิกบานตลอดเวลา หลังจากออกเดินทางไปพักหนึ่งทุกคนในรถบัสรู้สึกเหนื่อยล้าจึงนอนหลับกันหมดทำให้ดิฉันต้องนั่งฟังเพลงเบาๆดูธรรมชาติข้างทางและดูแสงไฟตามถนนอยู่คนเดียว ทำให้ดิฉันมีความสุขและสนุกมากจนเคลิ้มนอนหลับไปในที่สุด ตื่นขึ้นมาตอนเช้าก็ถึงปั๊ม ป..   ของ   จังหวัดสุราษฏร์ธานี นายหัวรถให้เวลาในการทำธุระส่วนตัว 30 นาที  เพื่อให้ทุกคนได้เข้าห้องน้ำ ซื้อขนมและรับประทานอาหารรวมทั้งเพื่อให้เพื่อนๆทั้งห้อง 1 และห้อง 2 ที่เป็น         อิสสลามได้มีการละมาดด้วย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปเรื่อยๆ ส่วนดิฉันก็ได้นั่งบนรถกับอาจารย์แป้งดูทำธรรมชาติตามท้องถนนข้างทางไปเรื่อยๆเพื่อดูลักษณะของพื้นที่ พืชพรรณ ป่าไม้ ภูเขาแม่น้ำของแต่ละจังหวัด และวัฒนธรรมประเพณี การเพาะปลูกพืช รวมถึงการใช้ชีวิตและวิถีชีวิตที่แตกต่างกันออกไป และได้รู้ถึงสิ่งที่เด่นชัดของจังหวัดต่างๆ ของแต่ละภาค สิ่งที่ดิฉันชอบมากในการแวะรับประทานอาหารข้างทางในภาคใต้ที่ร้านอาหารครัวสาหร่าย คือ ช้างไทยที่เป็นรูปปั้น และห้องน้ำที่ทำให้ดิฉันรู้สึกว่านั่งแล้วรู้สึกว่าเป็นธรรมชาติหลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่อดิฉันก็ได้นั่งกินขนมที่ซื้อมามากมายหลายอย่างด้วยความเอร็ดอร่อยและฟังเพื่อนๆรวมถึงคุณครูอาจารย์ทุกคนบรรยายภาคกลางและภาคเหนือและบรรยายไปด้วยตามข้างทางที่นั่งรถผ่านรวมถึง อาจารย์ทุกคนได้แนะนำพื้นที่แต่ละแห่ง และให้ดูลักษณะพื้นที่  พืชพรรณ ป่าไม้  แม่น้ำ และภูเขา  เพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามที่อาจารย์ทุกคนตั้งขึ้นมาเพื่อตอบสนองกับอาจารย์และมีข้อแลกเปลี่ยนโดยการให้ของรางวัลเป็นน้ำจิตน้ำใจกับผู้ที่ตอบคำถามถูกต้องตรงใจอาจารย์  เมื่อเหนื่อยล้าก็มีการคลายเครียดโดยการเปิดเพลงฟังไปเบาๆ เพื่อให้น้องๆเพื่อนๆทุกคนและคุณครูอาจารย์ทุกท่านได้คลายความเครียด และรู้สึกสนุกสนานในการเดินทางไปภาคสนามของภาคกลางและภาคเหนือในครั้งนี้  โดยการไปศึกษาหาความรู้ตามวัดวาอารามต่างๆในภาคเหนือและภาคกลางโดยเฉพาะอยุธยา สุโขทัย และกรุงเทพมหานคร วัดที่ดิฉันให้ความสนใจ คือ วัดชัยมงคล  วัดพระธาตุช่อแฮ  วัดร่องขุน          วัดโพธิ์ และวัดพระแก้ว  ส่วนใหญ่วัดในอยุธยาจากอนุรักษ์และรักษาสิ่งของที่เก่าแก่ไว้ให้เด็กรุ่นหลังได้เห็นและศึกษาถึงความเป็นมาของวัดต่างๆซึ่งส่วนใหญ่มีการตัดเศียรพระพุทธรูป แขน และเท้า  และได้ไปนั่งรถรางชมเมืองสุโขทัยเพื่อดูบรรยากาศรอบเมืองและสถานที่ต่างๆที่สำคัญของสุโขทัย  วนอุทยานแพะเมืองผี  ควันพะเยาและมีแผนที่จังหวัดพะเยา  ตำหนักที่ชอบมากที่สุด คือ ตำหนักดอยตุงที่มีแผนที่ท่องเที่ยวดอยตุงซึ่งเป็นสวนของสมเด็จย่าซึ่งมีสิ่งแวดล้อมที่ดีมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น ดอกไม้นานาชนิดที่มีสีสันสวยงามมากอร่ามตาดูแล้วสบายตา สบายใจทำให้รู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินและมีความสุขกับการถ่ายรูปตัวเองกับดอกไม้ที่สวยงามและเข้าที่พักที่เชียงใหม่หลังจากนั้นได้ไปเที่ยวที่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรมหารวิหารหลังจากนั้นก็ได้ไปถ่ายรูปที่ดอยปุยในชุดชาวเขา และชาวดอยและได้ถ่ายภาพชาวเขาเผ่าต่างๆที่ใส่ชุดชาวเขาไว้ด้วย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปตำหนักพิงคราชนิเวศน์ที่มีดอกไม้ที่สวยงามและมีของขายเยอะแยะ หลังจากนั้นได้เข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อไปนอนที่โรงแรมชาลีน่าเพื่อเที่ยวชมสถานที่ต่างๆในกรุงเทพมหานคร รวมถึงวัดพระแก้วและวัดโพธิ์ สิ่งที่ชอบในการไปเยี่ยมชมวัดพระแก้ว คือ  ประติมากรรมภาพวาดฝาผนังที่มีความสวยงามมากที่สุด  ดิฉันมีความสุขมากที่สุดในการไปเที่ยวภาคสนาม ณ ภาคกลางและภาคเหนือ   มากที่สุด รวมถึงเพื่อนๆน้องๆและคุณครูอาจารย์ทุกคนก็มีมิตรตภาพที่ดีแก่นักศึกษาทุกคนที่ไปทัศนะศึกษาในครั้งนี้ด้วยค่ะ



รูปภาพประมวลในการไปทัศนะศึกษา ณ ภาคสนามภาคกลางและภาคเหนือ
ร้านอาหารครัวสาหร่ายที่ชุมพร เป็นช้างไทยปูนปั้นที่มีการอนุรักษ์ไว้เพื่อไม่ให้มีการสูญหายไป
 

สถานที่วัดในจังหวัดอยุธยา

วัดในภาคกลางและภาคเหนือ
วัดชัยมงคล วัดพระธาตุช่อแฮ วัดร่องขุน และวัดพระแก้ว



พระพุทธรูปถูกตัดเศียรที่จังหวัดอยุธยา
ที่ดอยปุยรวมพลชาวเขาเผ่าต่างๆ




 วัดพระแก้วมีประติมากรรมฝาผนังที่สวยงามมาก






2) นำเสนอรูปภาพมีคำบรรยายประกอบรูปภาพ ลงในโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมอื่น ๆ
ในกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการศึกษานอกสถานที่ นักเรียนต้องออกแบบเก็บข้อมูลให้ละเอียดมากที่สุด


กิจกรรมที่ 10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 10

1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ    
    เป็นปราสาทหินตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ในพื้นที่ทับซ้อนชายแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างบ้านสรายจร็อม อำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร ของประเทศกัมพูชา และบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ใกล้ๆ กับอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เป็นบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนพื้นเมืองสมัยก่อน ในกษัตริย์ชัยวรมันที่ 2 ได้กำหนดเขตบริเวณนี้และเรียกชื่อว่า "ภวาลัย" ภายหลังปรากฏชื่อในจารึกภาษาสันสกฤตว่า "ศรีศิขรีศวร" หมายความว่า "ผู้เป็นใหญ่แห่งภูเขาอันประเสริฐ" ตั้งอยู่บนยอดเขาในเทือกเขาพนมดงรัก ตามแนวเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา จากหลักฐานต่างๆ คาดว่าสร้างในปี พ.ศ.1432-1443 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เพื่อใช้เป็นสถานที่สักการะตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ โดยสมมติให้เปรียบเสมือน "เขาพระสุเมรุ" (ศูนย์กลางของจักรวาล) โดยการสร้างนั้นก็มีเหตุผลในการรวบรวมอำนาจและความเชื่อของคนในละแวกนั้นเข้าด้วยกัน เพราะในอดีตแถบนั้นมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่รวมกัน      พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 จึงโปรดให้สร้างเขาพระวิหารขึ้น เพื่อเป็นจุดยึดเหนี่ยวและศูนย์รวมจิตใจของ ชาวบ้านซึ่งจะทำให้การปกครองง่ายขึ้นด้วย เดิมที่ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของประเทศไทย ขึ้นอยู่กับบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ (ค.ศ.1899, ร.ศ.-118) และเมื่อ พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า "ปราสาทพระวิหาร" ซึ่งพระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า 118 สรรพสิทธิ ต่อมาเมื่อปี 2450 จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส (ปกครองเขมรขณะนั้น) อาศัยแสนยานุภาพทางทหารบีบให้รัฐบาลสยาม (ไทย) ยอมเขียนแผนที่กำหนดให้เขาพระวิหารอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ในการทำสนธิสัญญาเพิ่มเติม รัฐบาลสยามก็ยอมรับแผนที่ที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นมาแต่โดยดีโดยมิได้ทักท้วง (ซึ่งแต่เดิมถ้าแบ่งตามสันปันน้ำเทือกเขาพนมดงรัก เขาพระวิหารจะอยู่ในฝั่งไทยแต่พอแบ่งตามแผนที่ใหม่ของปี 1907จะอยู่ในฝั่งกัมพูชา) อาจจะเป็นเพราะฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจอยู่ในขณะนั้น และคนไทยก็ยังสามารถเข้าไปยังปราสาทเขาพระวิหารได้โดยง่าย ทั้งๆ ที่ไม่ว่าจะตามสนธิสัญญาเดิม พ.ศ.2447 หรือตามสภาพภูมิศาสตร์ กำหนดให้อยู่ในดินแดนของไทยอย่างชัดเจน จนวันที่ 6 ตุลาคม 2502 รัฐบาลเจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชา ภายใต้การหนุนหลังของฝรั่งเศส ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก ขอให้ไทยถอนกองกำลังทหารออกจากเขาพระวิหาร และขอให้ศาลชี้ขาดว่าอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารคืน (ยื่นฟ้องทั้งหมด 73 ครั้ง) ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ศาลโลกได้ตัดสินให้อธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชา ด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง โดยบริเวณดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย 
       ส่งผลทำให้ไทยต้องสูญเสียพื้นที่ 1.5 ล้านไร่ โดยกินพื้นที่ตั้งแต่อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตามขอบชายแดนตลอดไป จนถึงจันทบุรีและตราด ที่สำคัญคือ ประเทศไทยและกัมพูชายังมีการประกาศอ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย ซึ่งมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกัน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 34,000 ตารางกิโลเมตร โดยฝ่ายกัมพูชาประกาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2515 ซึ่งวัดจากเส้นเขตแดนทางบกที่มาจรดริมทะเลตามที่ปรากฏในแผนที่ฝรั่งเศส โดยลากเส้นไหล่ทวีปพาดผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดของไทยขณะที่ฝ่ายไทยประกาศเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2516 โดยวัดจากเส้นเขตแดนทางบกที่จรดริมทะเลตามที่ปรากฏในแผนที่เดินเรืออังกฤษ หมายเลข 2414 โดยเส้นในช่วงแรกใช้แนวแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของ กัมพูชา ส่วนเส้นช่วงที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับกัมพูชา ซึ่งพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวนั้นทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถ ตกลงกันได้และด้วยเหตุดังกล่าวทำให้พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลกลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเนื่องจากฝ่ายกัมพูชาต้องการครอบครอง และถูกนำไปเชื่อมโยงกับการนำ ปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพราะในการเป็นมรดกโลกนั้นจะต้องมีเขตพื้นที่กันชน ซึ่งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า จะเข้ามาล่วงล้ำอธิปไตยของไทยที่ร้ายที่สุดคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนดังกล่าวก็ย่อมกระทบกับหลักเขตทั้ง 73 หลักและกระทบกับการประกาศเขตแดนทางทะเลอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งมีหลักฐานที่พอจะเชื่อได้ว่า เป็นเรื่องความต้องการเปลี่ยนเส้นเขตแดนทั้งทางบก และทางทะเลของไทย เพื่อหวังผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มการเมือง โดยการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นสื่อบังหน้าเท่านั้น
สรุปปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาไว้ดังนี้
      ประเทศไทยและกัมพูชามีแนวพรหมแดนติดต่อกันความยาว 798 กิโลเมตร แบ่งเป็นตามแนวสันปันน้ำ 524 กิโลเมตร ตามแนวลำน้ำ 216 กิโลเมตร และเป็นเส้นตรง 58 กิโลเมตร ทั้งสองฝ่ายได้ทำการปักปันเขตแดนร่วมกันครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2452 โดยใช้หลักเขตแดนทำจากไม้รวม 73 หลัก เริ่มตั้งแต่ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ (รอยต่อ จ.สุรินทร์ และ จ.ศรีสะเกษ) เป็นหลักเขตที่ 1 โดยแบ่งเส้นเขตแดนเป็น 3 ส่วน ได้แก่
 ส่วนที่ 1 เริ่มตั้งแต่จุดร่วมเขตแดน 3 ประเทศ (ไทย-กัมพูชา-ลาว) บริเวณช่องบก จ.อุบลราชธานี ไปตามทิวเขาพนมดงรัก ผ่าน จ.ศรีสะเกษ สุรินทร์ จนถึงเขตรอยต่อ จ.บุรีรัมย์ กับ จ.สระแก้ว (บริเวณหลักเขตที่ 28) ใช้แนวสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรักเป็นเส้นเขตแดน
 ส่วนที่ 2เริ่มตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 28 เส้นเขตแดนไปตามลำคลองสลับกับแนวเส้นตรงไปจนถึงต้นน้ำของทิวเขาบรรทัด (ใกล้หลักเขตแดนที่ 68) ผ่าน จ.สระแก้ว และจันทบุรี
 ส่วนที่ 3 เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำคลองใส (รอยต่อ จ.จันทบุรี กับ จ.ตราด) เส้นเขตแดนไปตามแนวสันปันน้ำของทิวเขาบรรทัดในเขต จ.ตราด ผ่านหลักเขตแดนที่ 69 จนถึงหลักเขตแดนที่ 72 และจากหลักเขตแดนที่ 72 เป็นเส้นตรงจนถึงหลักเขตแดนที่ 73 อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
ต่อมาพบว่าหลักเขตบางส่วนถูกเคลื่อนย้าย บางส่วนสูญหาย และการใช้แผนที่ในการพิจารณาปัญหาเขตแดนคนละฉบับ โดยไทยใช้แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ลำดับชุด L 7017 ที่กรมแผนที่ทหารจัดทำ ส่วนฝ่ายกัมพูชาใช้แผนที่ มาตราส่วน 1:50,000 ที่จัดพิมพ์โดยสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ส่งผลให้แนวเขตแดนบนแผนที่ทับซ้อนกันที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายได้ร่วมทำบันทึกความเข้าใจเรื่องการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2543 และมีคณะทำงานปฏิบัติงานร่วมกันเรื่อยมา แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่เสร็จสิ้น และมีพื้นที่ที่ยังเป็นปัญหาเขตแดนระหว่างสองประเทศ ได้แก่
1.จังหวัดสุรินทร์   สุรินทร์มีปัญหาพรมแดนติดต่อกับกัมพูชาทางด้าน อ.กาบเชิง บัวเชด สังขะ และกิ่งอำเภอพนมดงรัก ซึ่งเขตแดนติดต่อมีลักษณะเป็นป่า มีทิวเขาพนมดงรักกั้นตลอดแนว ส่วนหนึ่งประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ และตามแนวชายแดนซึ่งเป็นเขตแดนทางบกมีช่องทางขึ้นลงจำนวนมาก สุรินทร์มีหลักเขตแดนทั้งหมด 23 หลัก ตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 2-23 ในจำนวนนี้มีหลักเขตแดนที่ไม่สามารถตรวจพบ 6 หลัก คือหลักเขตแดนที่ 2,4,5,6,15 และ 16 ส่วนหลักเขตที่ 7 มีร่องรอยการเคลื่อนย้าย
ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเฉพาะที่สำคัญ ได้แก่
1.1    กลุ่มปราสาทตาเมือน   เป็นปราสาทหินมีจำนวน 3 หลัง ตั้งอยู่บนแนวภูเขาบรรทัด บริเวณบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 18 ต.ตาเมียง กิ่งอำเภอพนมดงรัก กลุ่มปราสาทตาเมือน ประกอบด้วย ปราสาทตาเมือนธมเก่าแก่และมีขนาดใหญ่ที่สุด ปราสาทตาเมือนโต๊ด และประสาทตาเมือน
1.2 ปราสาทตาควาย ตั้งอยู่ในเขตบ้านไทยนิยมพัฒนา หมู่ 17 ต.บักได
      ช่วงปี 2544 ราษฎรกัมพูชาได้แพร่กระจายข่าวว่า ปราสาทตาเมือนและปราสาทตาควายเป็นของกัมพูชา และกัมพูชาอาจยื่นข้อเรียกร้องอ้างสิทธิเหนือปราสาททั้งสองแห่ง ซึ่งในการประชุมเจ้าหน้าที่เทคนิคไทย-กัมพูชา นำโดย นายประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษา รัฐมนตรีต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี ฝ่ายไทย) และนายวาร์ กิมฮง ที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาด้านกิจการชายแดน ในฐานะประธาน เจบีซี ฝ่ายกัมพูชา เมื่อวันที่ 7-8 พ.ย.2544 ฝ่ายไทยเสนอว่าขอให้จัดชุดสำรวจร่วมทำการเดินตรวจสอบแนวสันปันน้ำในภูมิประเทศบริเวณปราสาท เพื่อพิสูจน์ทราบตำแหน่งประสาททั้งสามหลัง โดยยึดถือตามแนวสันปันน้ำต่อเนื่องในภูมิประเทศเป็นเส้นเขตแดน แต่ฝ่ายกัมพูชาชี้แจงว่า ได้ตรวจสอบตำแหน่งของปราสาททั้ง 2 หลัง (ตาเมือนธม, ตาเมือนโต๊ด) แล้ว ประกอบกับหลักฐานบันทึกว่าจากการปักปันเขตแดน หมายเลขที่ 23 ระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1908 แสดงสัญลักษณ์ตัวปราสาท 2 หลังอยู่ในเขตกัมพูชา  ขณะที่แผนที่ชุด L 7017 มาตราส่วน 1: 50,000 ปี 2527 ที่ฝ่ายไทยยึดถือ และแผนที่ มาตราส่วน 1: 50,000 ปี 2514 จัดทำโดยสหรัฐอเมริกาที่ฝ่ายกัมพูชายึดถือ ปรากฏเส้นเขตแดนตรงกันคือ ตัวปราสาทตาเมือนธมอยู่ในเขตกัมพูชา และอีก 2 ปราสาท (ตาเมือนโต๊ด, ตาเมือน) อยู่ในเขตไทย ปัจจุบันปัญหาบริเวณดังกล่าวจึงยังไม่ได้ข้อยุติ
2.จังหวัดบุรีรัมย์
บุรีรัมย์ไม่ปรากฏปัญหาขัดแย้งหรือข้อพิพาทเกี่ยวกับเส้นเขตแดน แต่ยังมีหลักเขตแดนที่ต้อง ปักปัน ได้แก่
- หลักเขตแดนที่ 25 บริเวณช่องสายตะกู ต.สายตะกู อ.บ้านกรวด ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะหลักเขตสูญหาย
3.จังหวัดสระแก้ว
      พื้นที่ จ.สระแก้ว ที่อยู่ในความดูแลของกองกำลังบูรพา ตั้งแต่ อ.ตาพระยา อ.คลองหาด (หลักเขตที่ 28-51) มีหลักเขตที่สมบูรณ์ 11 หลักเขต สูญหายจำนวน 6 หลักเขต แต่ที่มีเหตุให้เกิดการล้ำแดน คือ
3.1 บริเวณหลักเขตที่ 31-32 เนิน 48 อ.ตาพระยา โดยไทยและกัมพูชายึดแผนที่อ้างอิงต่างกัน ไทยยึดแผนที่ชุด L 7017 ที่ไทยและสหรัฐจัดทำเมื่อปี 2512-2514 แต่กัมพูชายึดแผนที่ชุด L 7016 จัดทำโดยฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ.2497
 3.2 หลักเขตที่ 35 บริเวณจุดผ่อนปรนตาพระยา-บึงตรอกวน อ.ตาพระยา ซึ่งหลักเขตดังกล่าวสูญหาย ทำให้ไม่สามารถกำหนดเส้นเขตแดนที่ชัดเจนได้ และกัมพูชายังกล่าวหาฝ่ายไทยว่าก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์บางส่วนรุกล้ำเขตแดนกัมพูชา
3.3 หลักเขตที่ 37-40 บริเวณเขาพนมปะ และเขาพนมฉัตร อ.ตาพระยา ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างยึดถือแผนที่อ้างอิงต่างกัน
3.4 หลักเขตที่ 46-48 ต.โนนหมากมุ่น กิ่ง อ.โคกสูง ถูกราษฎรกัมพูชาบ้านโชคชัย จังหวัดบันเตียเมียนเจย ประมาณ 200 คน รุกล้ำเข้ามาปลูกที่อยู่อาศัยในเขตไทยห่างจากชายแดนประมาณ 300 เมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 400 ไร่ นอกจากนี้หลักเขตที่ 48 ยังถูกทำลายด้วย
 3.5 พื้นที่บ้านป่าไร่ใหม่ ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ ใกล้หลักเขตที่ 49 ฝ่ายกัมพูชาก่อสร้างกำแพงคอนกรีตในบริเวณดังกล่าว แต่ยอมยุติการก่อสร้างและยอมให้ไทยรื้อ
ถอนบางส่วน ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้นำกำลังตำรวจเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการในเขตกัมพูชาใกล้บริเวณดังกล่าว
3.6 พื้นที่บริเวณจุดผ่านแดนถาวรคลองลึก อ.อรัญประเทศ เกิดจากการปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างบ่อนการพนันในเขตกัมพูชา อันเป็นเหตุให้ลำน้ำคลองลึก คลองพรมโหด ที่ใช้เป็นเส้นเขตแดนตื้นเขินและเปลี่ยนทิศทาง
3.7 หลักเขตที่ 51 บ้านคลองหาด อ.คลองหาด (เขาตาง็อก) ไทยและกัมพูชาต่างใช้แผนที่อ้างอิงที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่อมทับกันประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 1,875 ไร่ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาเข้าทำการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างไว้ และกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.) ได้เข้าเจรจาให้รื้อถอนออกไปแล้ว



4.จังหวัดจันทบุรี
 4.1 บริเวณหลักเขตที่ 51 ฝ่ายไทยและกัมพูชาใช้หลักฐานอ้างอิงต่างกัน ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่อมทับประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่เหลื่อมทับดังกล่าว กัมพูชาเคยปลูกสร้างสิ่งก่อสร้าง แต่ กปช.จต.ได้กดดันให้กัมพูชารื้อถอนสิ่งก่อสร้าง
 4.2 หลักเขตที่ 62 บ้านหนองกก ต.เทพนิมิต อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ซึ่งตลิ่งริมน้ำถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนพังทลาย เป็นเหตุให้หลักเขตอ้างอิงที่ตั้งอยู่ริมคลองโป่งน้ำร้อนโค่นล้ม ทางกองบัญชาการทหารสูงสุดได้อนุมัติแนวทางติดตั้งหลักเขตแดนขึ้นใหม่ โดยเจรจากับกัมพูชาดำเนินการติดตั้งหลักเขตชั่วคราว
4.3 หลักเขตแดนที่ 66 และ 67 บ้านผักกาด อ.โป่งน้ำร้อน ทั้งสองประเทศต่างอ้างอิงแนวเขตแดนต่างกัน โดยฝ่ายไทยอ้างอิงจากสภาพภูมิประเทศ แต่กัมพูชาใช้แนวเส้นตรง ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่อมทับกันประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้เข้ามาตัดไม้ และยังกล่าวหาไทยว่าทำการปิดประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติรุกล้ำเข้าไปในเขตกัมพูชา
5.จังหวัดตราด
5.1 บริเวณบ้านคลองสน บ้านคลองกวาง-ตากุจ อ.คลองใหญ่ บนเส้นเขาบรรทัด เนื่องจากกัมพูชาได้สร้างถนนสาย K5 ล้ำเข้ามาในเขตไทยประมาณ 500 เมตร รวมระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งฝ่ายกัมพูชายอมรับว่าสร้างล้ำเข้ามาจริง ทาง กปช.จต.จึงได้ปิดเส้นทางในส่วนที่ล้ำเข้ามา พร้อมทั้งตั้งจุดตรวจและลาดตระเวนตามเส้นทางอย่างต่อเนื่อง
5.2 บริเวณบ้านหนองรี อ.เมือง กำลังทหารสังกัดร้อย ปชด.1 พัน ปชด.501 ได้เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการบริเวณพิกัด TU.509454 ลึกเข้ามาในเขตไทยประมาณ 300 เมตร กปช.จต.ได้กดดันมิให้ฝ่ายกัมพูชาก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม
 5.3 หลักเขตแดนที่ 72,73 จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ โดยหลักเขตที่ 72 สูญหาย และมีการอ้างอิงแนวเขตจากหลักเขตที่ 73 ไปยังหลักเขตที่ 72 แตกต่างกัน ฝ่ายกัมพูชายึดถือค่าพิกัด TT.724886 ส่วนไทยยึดถือที่ค่าพิกัด TT.725884 ทำให้มีพื้นที่เหลื่อมทับกันประมาณ 100 ไร่ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาพยายามก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างถาวรในพื้นที่ แต่ กปช.จต.ได้กดดันให้ยุติ
6.เส้นเขตแดนทางน้ำ
ไทยและกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยแตกต่างกัน ฝ่ายกัมพูชาประกาศเมื่อ 1 ก.ค.2515 โดยลากเส้นจากจุดอ้างอิงที่ละติจูด 11 องศา 38.88 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 54.81 ลิปดาตะวันออก ผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเลยไปถึงระยะกึ่งกลางระหว่างหลักเขตที่ 73 ส่วนฝ่ายไทยประกาศเขตไหล่ทวีปเมื่อ 18 พ.ค.2516 โดยกำหนดจุดอ้างอิงที่ 1 ที่ละติจูด 11 องศา 39 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 55 ลิปดาตะวันออก ที่บ้านหาดเล็ก แล้วลากเส้นเกาะกง จากนั้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเส้นฐานตรงออกเป็นมุมภาคทิศ 211 องศา ไปยังตำแหน่งของจุดที่ 2  ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลประมาณ 34,043 ตารางกิโลเมตร ซึ่งยังอยู่ระหว่างการเจรจา!
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร

      มีบันทึกข้อตกลงความเข้าใจระหว่างไทยกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก 2543 หรือ MOU 43 ที่จะช่วยให้ความชัดเจนในเรื่องของการปักปันเขตแดน ที่มีการตั้งกรรมาธิการร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาแล้ว แต่ก็ต้องยุติลง เนื่องจากเกิดปัญหาข้อพิพาทกรณีเขาพระวิหาร จึงทำให้การประชุมร่วมกมธ.ระหว่างไทย กัมพูชาต้องยุติลง
   ในกรณีที่ยังไม่มีการตกลงเรื่องการปักปันเขตแดนระหว่างไทย กัมพูชา ของกมธ.ร่วม จะให้สิทธิฝั่งไทยและกัมพูชาที่ครอบครองพื้นที่ทับซ้อนโดยชอบ ซึ่งหากยังไม่มีข้อตกลงการปักปันชายแดนที่ชัดเจนออกมา ก็จะไม่มีคนใครสามรถเข้าไปชี้จุดได้ว่าพื้นที่ตรงไหนเป็นของไทยหรือกัมพูชาบ้าง และผมเชื่อว่า MOU 43 จะเป็นข้อตกลงที่จะช่วยแก้ไขปัญหาระหว่างไทยกับกัมพูชาได้ ดังนั้น ตนจึงขอให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เร่งรัดให้มีการเจรจาเรื่องการปักปันเขตแดนโดยด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทางกรรมาธิการเชื่อว่า MOU 43 จะเป็นหนทางในการปักปันเขตแดนไทย กัมพูชาให้แล้วเสร็จ และจะสามารถเกิดสันติภาพระหว่างทั้ง 2 ประเทศได้ หากเจรจาด้วยความละมุนละม่อมกัน ทั้งนี้ เชื่อว่าการเมืองและความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร อาจจะส่งผลให้การปักปันเขตแดนไม่ประสบความสำเร็จ อีกทั้งอยากให้มีการปักปันเขตแดนในพื้นที่ซับซ้อนที่ไม่มีปัญหาก่อน แต่จริงๆ แล้วเรื่องการปักปันเขตแดนเป็นเรื่องรอง เพราะควรที่จะทำความชัดเจนในพื้นที่ซับซ้อนทั้ง 13 จุดก่อน เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาขึ้นภายหลังสำหรับกรณี MOU 43 ที่นายอภิสิทธิ์ยืนยันเสียงแข็งว่าเป็นประโยชน์ในการเจรจาครั้งนี้ ดร.สุวันชัยให้ความเห็นว่า มันไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คณะกรรมการมรดกโลกเขาเลื่อน เพราะ MOU มันทำมาตั้งแต่ปี 2543 แล้วทำไมกัมพูชาไปขึ้นทะเบียนตอนปี 51 ได้ ทำไมปี 51 เขาอนุมัติล่ะ คุณก็มี MOU อยู่นี่ ทำไมคุณไม่เอา MOU ไปแย้งล่ะ หรือว่าปี 52 ตอนคุณสุวิทย์ไปที่เซบีญา สเปน ทำไมคุณไม่เอา MOU ไปล่ะ ผมคิดว่า MOU 43มันมีประโยชน์แค่ส่วนเดียว แค่ส่วนน้อย ไม่ได้เป็นประโยชน์มาก
- พ.ศ. 2543 (สมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.กต. ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก (MOU 2543) โดยมีการลงนามอนุมัติการใช้แผนที่1 : 200,000 ของนายชวน หลีกภัย ในหนังสือลง 12 มิ.ย. 2543 โดยเข้าใจว่าเป็นแผนที่สยามอินโดจีน ทั้งที่ไทยไม่เคยยอมรับแผนที่นี้มาก่อนเพราะมีความผิดพลาดทางภูมิศาสตร์ และไม่ยึดหลักสันปันน้ำ ซึ่งแผนที่ฉบับนี้จะทำให้ไทยสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดนประมาณ 1,800,000 ไร่     ทำให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (JBC) ได้มีการจัดทำแผนแม่บท (TOR 2546) เร่งการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก รวมทั้งทำแผนที่ระหว่างไทย-กัมพูชา รมว.กต.ได้มีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ว่า ไทยสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งทำให้ไทยต้องสูญเสียดินแดนรอบปราสาทพระวิหารกว่า 2,875 ไร่ (และเป็นการยอมรับแผนที่ 1:200,000) ต่อมาศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้เพิกถอนแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เพราะขัดรัฐธรรมนูญปี 2550มาตรา 190ได้มีการเสนอให้มี กรอบการเจรจาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชาตลอดแนว โดยเสนอเอกสาร MOU 2543 และ TOR 2546 เป็นเอกสารประกอบการประชุมร่วมรัฐสภาในการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติ ครั้งที่ 5 (ทั้งที่ MOU 2543 สิ้นผลไปแล้ว และ TOR 2546 มิได้ผ่านการรับรองจากรัฐสภา ตามมาตรา 224 มาก่อน) ผลปรากฏว่า สมาชิกรัฐสภามีมติเห็นชอบกรอบการเจรจาดังกล่าว ด้วยคะแนนเสียง 409 : 7 แม้จะผ่านมติเสียงข้างมาก แต่ขัดรัฐธรรนูญ มาตรา 1ได้พยายามเสนอบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) และรายงานการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (GBC) เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 190 (เท่ากับเป็นการยืนยันแผนที่ 1:200,000 และยอมรับผลการดำเนินการตาม MOU 2543 และ TOR 2546 ซึ่งยึดแผนที่ 1:200,000 เป็นหลัก แม้ว่า MOU 2543 ได้สิ้นผลไปแล้วตั้งแต่สมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย และทั้ง TOR 2546 มิได้ผ่านการรับรองของรัฐสภาในฐานะเป็นกรอบการเจรจา) ทำให้เส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาเปลี่ยนแปลงไปส่งผลทำให้ไทยต้องสูญเสียพื้นที่ 1.5 ล้านไร่ โดยกินพื้นที่ตั้งแต่อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตามขอบชายแดนตลอดไป จนถึงจันทบุรีและตราด ใน MOU 43  กัมพูชากระทำการละเมิดข้อตกลงการส่งคนกัมพูชาเข้ามาสร้างชุมชนมาตั้งร้านค้าและแผงลอยบริเวณทางขึ้น ปราสาทพระวิหารในเขตไทยเพื่อขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ปี 2541 และสร้างวัดแก้วสิขาคีรีสะวารา บริเวณฝั่งตะวันตกของปราสาทพระวิหารซึ่งอยู่นอกเขตที่กั้นรั้วลวดหนามตามมติ ครม. 10 ก.ค.2505 ปี 2542 ก็ยังคงดำรงอยู่อย่างไม่มีใครเข้าไปแตะต้อง ขณะที่คนไทยเจ้าของประเทศกลับไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไป
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น   
     จากกรณีที่คนไทย 7 คนถูกทหารกัมพูชาจับกุมในข้อหาหลบหนีเข้าเมืองโดยเสนอว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ควรเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานความมั่นคง กระทรวงการต่างประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว และกรมแผนที่ทหาร เพื่อให้เข้าชี้แจง กรณีการปักปันเขตแดน เพื่อให้รู้หลักเขตแดนว่าอยู่ที่ใด เพราะที่ผ่านมาทหารพรานไทยได้จับกุมประชาชนกัมพูชาอยู่บ่อยครั้ง รวมถึงทหารกัมพูชาก็ได้จับกุมคนไทยด้วยเช่นกันเนื่องมาจากการที่ไทยและกัมพูชายังไม่มีการปักปันเขตแดน ทั้งนี้ประชาชนกัมพูชาและไทย ที่อยู่ในพื้นที่ในเขตชายแดนก็มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาตลอดขณะที่นายวีระ สมความคิด แกนนำเครือข่ายคนไทยรักชาติ ได้ถูกจับกุมครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อเดือน ก.ย.ปี 53 ซึ่งก็ได้รับการปล่อยตัว โดยสาเหตุในการจับกุมครั้งนี้ เป็นเพราะไทยและกัมพูชามีเขตพื้นที่ทับซ้อนกันถึง 13 จุด ซึ่งทับซ้อนในเขตจังหวัดสระแก้ว 10 จุด มีบันทึกข้อตกลงความเข้าใจระหว่างไทยกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก 2543 หรือ MOU 43 ที่จะช่วยให้ความชัดเจนในเรื่องของการปักปันเขตแดน ที่มีการตั้งกรรมาธิการร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาแล้ว เนื่องจากเกิดปัญหาข้อพิพาทกรณีเขาพระวิหาร จึงทำให้การประชุมร่วมกมธ.ระหว่างไทย กัมพูชาต้องยุติลงจึงขอเรียกร้องให้ทางกัมพูชาปล่อยตัวคนไทยทั้ง 7 คน เพราะเป็นคดีเล็กน้อย เพื่อจะได้ไม่เกิดผลกระทบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อกัน

อ้างอิง
http://www.baanmaha.com/community/thread17356.html
 http://mblog.manager.co.th/khonkhonkaen144/tag
http://www.oknation.net/blog/MOU43/2010/08/08/entry-1
http://www.socialthai.net/forum/index.php?topic=281.0
http://www.isnhotnews.com/
2011/01